วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่3 กระบวนการจัดการความรู้

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษาการจัดการความรู้ที่ประสบความสำเร็จ

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษา : การจัดการความรู้ของ “โรงพยาบาลศิริราช”



       โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับลิยานและเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งขน เปิดดำเนินการในที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 ปัจจุบันโรงพยาบาลมีอายมากกว่า 116 ปี การดำเนินกิจการของโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มแรกยึดแนวทางสืบสานพระราชปณิธานของพระผู้ทรงก่อตั้งคือ ให้การบำบัด รักษา ดูแล และส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนทุกระดับ ทั้งผู้ยากไร้อนาถาและร่ำรวยมั่งมีโดยไม่แบ่งชนวรรณะและในสมัยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย" ได้ทรงอาสาพระองค์ด้ายพระวิริยะ อุตสาหะ และพระราชทานทนทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการพัฒนาปรับปรง โรงพยาบาลศิริราช ทรงวางรากฐานทางด้านการศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข และการสังคมสังคมเคราะห์ จนได้รับศรัทธาและความนิยามจากประชาชนทุกระดับ เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้บริการที่เคยระดับยึดประโยชน์สุขของประชาชน "คณะแพทยศาสตร์ศรราชพยาบาลจะเป็นสถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศในอาเซียอาคเนย์" และมีพันธกิจ "คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีพันธกิจที่จะจัดการการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิต ทำการวิจัย สร้างบรรยากาศทางวิชาการและให้บริการทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพ ทันสมัยได้มาตรฐานสากล สอดคล้องกับความตองการประเทศและนำมาซึ่งศรัทธา และความนิยมสูงสุดจากประชาชนรวมทั้งชี้นำสังคมไทยในด้านสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต
       
       การดำเนินการของโรงพยาบาลศิริราชเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพให้เป็นโรงพยาบาลคันภาพได้มาตรฐานทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ และเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 โรงพยาบาลศิริราชได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับชาติ จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ภายหลังได้รับการับรองคุณภาพแล้ว โรงพยาบาลยังคงดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและได้รับการรับอง Re-accreditation อีกครั้งในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547

  • การจัดการความรู้ในองค์กร
         เหตุผลสำคัญที่โรงพยาบาลศิริราช เข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้ตามค่าเชิญของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ คือ ต้องการเรียนรู้วิธีการจัดการความรู เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กรให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์กรของคระแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถใช้ความรูในองค์กรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ นอกจากนการเข้าร่วมโครงการเป็นโอกาสที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กรอื่นในการสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ในองค์กรที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย เพื่อการขยายผลต่อไป

  • วิธีการดำเนินการ
         โรงพยาบาลศิริราช เริมดำเนินโครงการการจัดการความรู้ด้วยการจัดประชมเชิงปฏิบัติการ 1 วันให้กับผู้บริหารระดับสง และทีมงาน โดยมี Mr. Robert Osterhoff  ซึ่งเป็นที่รักษาโครงการมาเป็นวิทยากรการดำเนินโครงการใช้ Model "Knowledge Management Cycle of Implementation" ซึ่งเป็น Model ที่ประยุกต์มาจากของ บริษัท Xerox Corporation เป็น Model ในระหว่างการประชมมีการประเมินและวิเคราะห์องค์กร โดยผู้บริหารมีมติว่าจะจัดการความรู้เรื่อง "CQI" (Continuous Quality Improvement) ทางคลินิก

         หลักจากการประชมเชิงปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีคำสั่ง แต่งตงคณะทางานการจัดการความรู้ จากนนคณะทำงานได้ประเมินและวิเคราะห์องค์กรอย่างละเอียด พบว่าโรงพยาบาลศิริราชมีการดำเนินการด้าน “CQ” ทางคลินิกมาพอสมควร ซึ่งกระบวนการ CQI เป็นวิธีการพัฒนาและปรับปรุงการบริการทำให้เกิดการดูแลรักษาที่ดีและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

         นอกจากนยังช่วยส่งเสริมให้วิสัยทัศน์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่เป็นองค์กรทางการแพทย์ชนเลิศในเอเชียอาคเนย์และพันธกิจที่จะให้บริการทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพ ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ให้สามารถบรรลุผลได้ เป้าหมายในการดำเนินโครงการจัดการความรู้ คือ"ระบบเครือข่ายของการถ่ายโอนความรู้ (ด้านCQI ทางคลินิก) เพื่อให้มี Best Practices ในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิริราช"

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษา : การจัดการความรู้ของ บริษัทสแปนชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด”



       บริษัท สแปนชั่น (ไทยแลนด์) จํากัด ชื่อเดิมคือ บริษัท เอเอ็มดี (ไทยแลนด์) จํากัด เกิดจากการรวบรวมสายงานผลิต9 หน่วยความจํา (Memory Devices) ของบริษัท เอเอ็มดี และบริษัท ฟูจิตสึ บริษัทนับว่าเป็นโรงงานผู้ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า IC ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดในจํานวน  4 แห่งของ Spansion ในทวีปเอเชีย โรงงานประกอบด้วยสายการผลิตประกอบและทดสอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติรวมทั้งการควบคุมการผลิตด้วยกลวิธีทางสถิติในส่วนของบุคลากร Spansion มีพนักงานประมาณ 1,400 คน ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยหน่วยความจำ ประเภท Nor Flash ทีมีประสิทธิภาพสูงซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ มือถือ(PDA), ระบบ GPS, หน่วยความจำ (Media memory) เป็นต้น กลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ชั้นนำต่างๆ

       ปรัชญาการบริหารงานของ Spansion มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับพนักงานภายใต้แนวคิดนการบริหารจัดการที่ว่า บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กร” (People are our most important asset.)ดังนั้นการมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดีไปพร้อมกันความสำเร็จในการบริหารจัดการของ Spansion มาจากการผสมผสานระหว่างรูปแบบการทำงานตามสายบังคับบัญชาปกติ และรูปแบบของกลุ่ม หรือคณะทำงานเพื่อให้ มั่นใจว่าผลที่เกิดจากการมีส่วนร่วมกันของพนักงานทุกคน เรียกว่า ระบบการปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนา

 ทำไมต้องจัดการความรู้ในองค์กรนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง (Total Continous Process Improvement and Innovation หรือ TCPI2 ) อันเป็นหัวใจหลักของการพัฒนากระบวนการทำงานในแง่ของการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและศักยภาพของพนักงานบริษัทเชื่อว่า ความรู้คือพลัง” (Knowledge is Power) ดังนั้นจึงมีการจัดตั้ง Spansion University โดยวางแผนและจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นไว้ที่ อาคารศูนย์พัฒนาบุคลากร (Employee Development Center หรือ EDC) และมีคณะกรรมการการศึกษา Total Continous Education (TCE) ซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำนโยบาย แผนงานหลักและการกำหนดกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพนักงานในภาวะปัจจุบัน การที่พนักงานของบริษัทสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าคู่แข่งถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจและจากค่านิยม (Values) ของ Spansion ที่เกี่ยวกับความรู้ บริษัทจึงมุ่งเน้นและส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พนักงานควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น เพื่อให้การทำงานดีขึ้น เป็นการสร้างคุณค่าที่สำคัญอย่างหนึ่ง และบริษัทก็ได้มอบรางวัล หรือการแสดงความชมเชยจากผลของการทำเช่นนั้นด้วย

       การจัดการความรู้ใน Spansion จะมุ่งเน้นที่การจัดการกับความรู้ที่เป็นความรู้หลักที่สำคัญขององค์กรโดยมากจะเป็นความรู้ในเชิงวิศวกรรมและเทคนิคเฉพาะด้าน โดยวางเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาการจัดการความรู้และแบ่งปันความรู้ ที่เป็นระบบในตลาดการผลิตอุปกรณีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทตระหนักดีว่าธุรกิจจะมีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา ศักยภาพด้านเทคนิคจึงเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ

  • กิจกรรมที่เลือกเข้ามาไว้ในโครงการนำร่องของการจัดการความรู้มีดังนี้
  1.  โครงการเพื่อพัฒนาผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง (TCPI2 projects)
  2.  การนำเสนองานและโครงการด้านวิศวกรรม (Engineering project presentation)
  3.  การนำเสนองานในฝ่ายสนับสนุน (Department presentation)
  4.  เอกสารประกอบการฝึกอบรม (Training materials)
  5.  สิทธิบัตร (Patents)
  6.  สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ (Publication)
  7.  ความรู้จากบริษัทคู่ค้า (Knowledge from Vendors)

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษา : การจัดการความรู้ของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)”



วิสัยทัศน์ (Vision)

  การเป็นผู้ให้บริการด้านการสื่อสารครบวงจรและมุ่งตอบสนองต่อลูกค้าเป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นผู้ให้บริการหนึ่งเดียวของประเทศที่ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน ระบบสื่อสารไร้สาย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และผลิตภัณฑ์และบริการด้านเนื้อหาต่างๆอย่างหลากหลาย

พันธะกิจ (Mission)
       
        แนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งประกอบด้วย

เชื่อถือได้
  1. เราซื่อตรงและให้เกียรติทุกคนและร่วมกันทำงานเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
  2. เราสื่อสารอย่างซื่อตรงและเน้นถึงประโยชน์ของบริษัทเป็นสำคัญ
  3. เราพยายามทำในสิ่งที่เหมาะที่ควรเพื่อลูกค้าของเรา
  4. เราพร้อมจะตัดสินใจและรับผิดชอบในการกระทำของเรา
  5. สร้างสรรค์
  6. เราพยายามเสาะหาแนวคิดใหม่ๆ และวิธีการใหม่ๆ ซึ่งจะนำมาซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ
  7. เราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานร่วมกัน
  8. เราทำงานด้วยความท้าทายซึ่งทำให้ธุรกิจของเราพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าเหนือผู้อื่น

เอาใจใส่
  1. เราเชื่อมั่นว่าพนักงานของเราคือสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งของบริษัท
  2. เราตั้งใจจะทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคีและมอบสิ่งที่ถูกที่ควรให้กับลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และคู่ค้าของเรา
  3. เราปฏิบัติต่อผู้อื่นในลักษณะเดียวกับที่เราอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา
  4. เรายอมรับผลงานและยินดีในความสำเร็จของกันและกัน
  5. เราสร้างสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับคู่ค้าของเรา
  6. กล้าคิดกล้าทำ
  7. เรามีความปรารถนาที่แน่วแน่เพื่อพัฒนาบริษัทของเราและเป็นผู้นำในตลาดการค้า
  8. เราปฏิบัติงานด้วยความเด็ดเดี่ยว ประเมินความเสี่ยงอย่างสุขุมและเรียนรู้จากข้อผิดพลาด
  9. เราตระหนักดีว่าโอกาสเกิดจากความรับผิดชอบและความรู้สึกเป็นเจ้าของในงานนั้นๆ

เป้าหมาย (Goal) 

        การเป็นผู้นำ Convergence lifestyle enabling ผ่านบริการทั้งหมดของกลุ่มซึ่งมีครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น Wire line หรือ Wireless ตั้งแต่โทรศัพท์พื้นฐาน, WE PCT บรอดแบนด์, อินเทอร์เน็ต และรวมไปถึงการให้บริการเคเบิ้ลทีวี บริการต่างๆเหล่านี้ เป็นช่องทางที่จะทำให้เราสามารถเติมเต็มชีวิตของลูกค้าทุกกลุ่มให้ครบถ้วน รวมถึงการให้บริการโซลูชันทางธุรกิจ ทั้งแก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้า SME

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น