วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่ 2 แนวคิดการจัดการความรู้

ความหมายของการจัดการความรู้

(Knowledge management - KM)


     การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM) หมายถึง การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด

     การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์

     รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น


ภาพที่ 1 กระบวนการจัดการความรู้
ที่มา : https://www.ftpi.or.th/

 ➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖

โมเดลการจัดการความรู้

(knowledge manager model)


โมเดลเซกิ (SECI Model)

      โมเดลเซกิ (SECI Model) คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นวัฎจักรเริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน(Externalization)การควบรวมความรู้(Combination)และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน

1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit
          กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา

2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit
          กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่

3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit
          กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร

4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit
         กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร

ภาพที่ 2 โมเดลการจัดการความรู้ของเซกิ
ที่มา : http://comedu.nstru.ac.th

ตัวอย่างการนำ SECI MODEL มาประยุกต์ใช้

     1.  ส่วนของ Socialization (S) ได้ประยุกต์โดยการสร้างระบบกระดานสนทนาเพื่อเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับบุคคลทั่วไป 
     2.  ส่วนของ Externalization (E) เป็นส่วนของการรวบรวมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างระบบจัดเก็บงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุนัข และการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้ามาทำการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลได้ 
     3.  ส่วนของ Combination(C) เป็นการสร้างระบบการวิเคราะห์ข้อมูลโรคจากอาการของสุนัขและการแสดงรายละเอียดของโรคที่วิเคราะห์ได้ 
     4.  ส่วนของ Internalization (I) เป็นส่วนที่ใช้ในการวัดสถิติการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานโดยทั่วไป เช่น การวัดจำนวนครั้งในการดาวน์โหลดงานวิจัย, การวัดสถิติการเข้าชมวีดีโอที่เกี่ยวข้องและการเก็บสถิติชื่อโรคที่ผู้ใช้เข้ามาทำการค้นหา เป็นต้น


➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

Knowledge Management Framework

กรอบแนวคิดของกระบวนการจัดการความรู้

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

Knowledge Discovery: the development of new tacit or explicit knowledge from data and information or from the synthesis of prior knowledge

*การค้นพบความรู้: การพัฒนาความรู้โดยปริยายหรืออย่างชัดเจนใหม่จากข้อมูลและสารสนเทศหรือจากการสังเคราะห์ความรู้ก่อน

  • Combination - discovery the new explicit knowledge More complex or new explicit knowledge are created from multiple body of explicit knowledge through communication, integration and systemization - Proposal writing
*การรวมกัน - การค้นพบใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้นที่มีความรู้หรือความรู้ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นจากหลายตัวของ  ความรู้ผ่านการสื่อสารและบูรณาการการจัดระบบการเขียนข้อเสนอ

  • Socialization - discovery the new tacit knowledge
  • The synthesis tacit knowledge across individual through joint activities instead of  written or verbal instruction
*การขัดเกลาทางสังคม - การค้นพบความรู้ใหม่โดยปริยาย 
การสังเคราะห์ความรู้โดยปริยายผ่านบุคคลผ่านกิจกรรมร่วมกันแทนการเรียนการสอนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทางวาจา

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

Knowledge capture: the process of retrieving either tacit or explicit knowledge that resides with in people, artifacts, or organizational entities 

*การจัดความรู้: กระบวนการของการเรียกทั้งความเงียบหรืออย่างชัดเจนว่าอาศัยอยู่กับคนในสิ่งประดิษฐ์หรือหน่วยงานขององค์กร
  • Externalization - convert tacit knowledge to be explicit knowledge. Ex: consultant writing document describe the lessons the team has learned about client company.
*กระบวนการที่สำคัญมากๆในการรันวงจรความรู้ วามรู้โดยปริยายเป็นความรู้ชัดเจน Ex: เอกสารการเขียนคำปรึกษาอธิบายบทเรียนที่ทีมงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับบริษัทลูกค้า
  • Internalization - convert explicit knowledge to be tacit knowledge. Ex : new software consultant reads a book on innovative software development and learn from it.
*Internalization – ความรู้ที่ชัดเจนที่จะเป็นความเงียบ Ex : ที่ปรึกษาด้านซอฟแวร์ใหม่อ่านหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่และเรียนรู้จากมัน

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

Knowledge sharing : the process of tacit or explicit knowledge are shared to individuals 

*การแบ่งปันความรู้ : กระบวนการของความเงียบหรืออย่างชัดเจนที่ใช้ร่วมกันให้กับประชาชน
  • Effective transfer : to understand well enough to act on it or having ability to take action based on it.
*บริการรถรับส่งที่มีประสิทธิภาพ : จะเข้าใจดีพอที่จะดำเนินการกับมันหรือมีความสามารถที่จะดำเนินการบนพื้นฐานของมัน
  • Share knowledge not recommendation based on knowledge-utilization of knowledge
*การแบ่งปันความรู้ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของคำแนะนำความรู้การใช้ประโยชน์จากความรู้
  • Knowledge sharing take place across individual , groups , department,  organization.
*แบ่งปันความรู้เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล กลุ่ม แผนก องค์กร

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

Knowledge application: The knowledge is used to guide decisions and actions.

*การประยุกต์ใช้ความรู้: ความรู้ที่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจและการกระทำ
  • Knowledge contributes most org. performance when it is used to make decision and perform task
*ความรู้มีส่วนช่วยในองค์กรมากที่สุด ประสิทธิภาพการทำงานเมื่อมันถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจและดำเนินงาน
  • Direction : individual processing knowledge direct the action of another without transferring.
*ทิศทาง: การประมวลผลความรู้ของแต่ละบุคคลโดยตรงการกระทำของผู้อื่นโดยไม่ได้รับการถ่ายโอน
  • Routines: utilization knowledge embedded in procedure, rules, and norms that guide future behavior
*งานประจำ: การใช้ประโยชน์ความรู้ฝังอยู่ในกระบวนการ ,กฎ และบรรทัดฐานที่แนะนำลักษณะการทำงานในอนาคต

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น