วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 4 องค์กรแห่งการเรียนรู้

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

การวิเคราะห์กรณีศึกษาการเป็นองค์กรแห่งความรู้

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษา : องค์กรแห่งความรู้ของ "โรงพยาบาลศิริราช"

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼


เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร


     โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับลิยานและเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งขน เปิดดำเนินการในที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 ปัจจุบันโรงพยาบาลมีอายมากกว่า 116 ปี การดำเนินกิจการของโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มแรกยึดแนวทางสืบสานพระราชปณิธานของพระผู้ทรงก่อตั้งคือ ให้การบำบัด รักษา ดูแล และส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนทุกระดับ ทั้งผู้ยากไร้อนาถาและร่ำรวยมั่งมีโดยไม่แบ่งชนวรรณะและในสมัยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย" ได้ทรงอาสาพระองค์ด้ายพระวิริยะ อุตสาหะ และพระราชทานทนทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการพัฒนาปรับปรุง โรงพยาบาลศิริราช ทรงวางรากฐานทางด้านการศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข และการสังคมสังคมเคราะห์ จนได้รับศรัทธาและความนิยามจากประชาชนทุกระดับ เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้บริการที่เคยระดับยึดประโยชน์สุขของประชาชน"คณะแพทยศาสตร์ศรราชพยาบาลจะเป็นสถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศในอาเซียอาคเนย์" และมีพันธกิจ "คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีพันธกิจที่จะจัดการการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิต ทำการวิจัย สร้างบรรยากาศทางวิชาการและให้บริการทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพ ทันสมัยได้มาตรฐานสากล สอดคล้องกับความตองการประเทศและนำมาซึ่งศรัทธา และความนิยมสูงสุดจากประชาชนรวมทั้งชี้นำสังคมไทยในด้านสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต


วิธีการดำเนินงานการจัดการความรู้ในองค์กร


 การดำเนินการของโรงพยาบาลศิริราชเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพให้เป็นโรงพยาบาลคุณภาพได้มาตรฐานทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ และเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 โรงพยาบาลศิริราชได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับชาติ จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ภายหลังได้รับการับรองคุณภาพแล้ว โรงพยาบาลยังคงดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและได้รับการรับอง Re-accreditation อีกครั้งในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547


ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งความรู้


      ปัจจัยความสำเร็จต่อการขับเคลื่อนองค์กรของโรงพยาบาลศิริราชคือ การมีนโยบายองค์กรสนับสนุน การสนับสนุนของผู้บริหารองค์กร ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรในแต่ละระยะ อีกทั้งระยะเวลาในการจัดกิจกรรมที่มากเพียงพอให้บุคลากรทุกส่วนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ การมีช่องทางประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย และการมีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสนับสนุนพร้อมเครื่องมือสำหรับช่วยในการสร้างสุขทางการเงินให้กับบุคคล เป็นต้น

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษา : องค์กรแห่งความรู้ของ "บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด"

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร


      1.   ตั้งมั่นในความเป็นธรรม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเอสซีจี ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้สินค้า ผู้ถือหุ้น หุ้นส่วนธุรกิจ ผู้ที่ดำเนินธุรกิจด้วย หรือพนักงาน จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ขณะประกอบธุรกิจ หรือทำงานร่วมกับเอสซีจี

     2.  มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ มุ่งกระทำการทุกอย่าง ด้วยความตั้งใจให้เกิดผลในทางที่ดีกว่าเสมอ โดยมุ่งมั่นที่จะประกอบธุรกิจอย่างดีเยี่ยม เต็มความสามารถ ขณะเดียวกันก็พยายามหาแนวทาง การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอยู่ตลอดเวลา และอย่างต่อเนื่อง

     3.  เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ให้ความสำคัญต่อคุณค่าของพนักงาน และถือว่าเขาเหล่านั้นคือสมบัติที่มีค่าที่สุด พยายามคัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรม เข้ามาร่วมงาน ให้การฝึกฝน พัฒนาและดูแลอย่างดี ด้วยสวัสดิการและผลตอบแทนตามสมควร

     4.  ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ตั้งเจตนารมณ์ไว้ว่า จะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่พึงมีต่อประเทศชาติและสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ จะประพฤติตนเป็นพลเมืองดี ทำประโยชน์ให้แก่สังคมและทุกชุมชนที่เอสซีจี ดำเนินธุรกิจอยู่

วิธีการดำเนินงานการจัดการความรู้ในองค์กร


    เอสซีจีประกอบด้วย 3 กลุ่มธุรกิจและหน่วยงานส่วนกลาง แต่ละธุรกิจดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วย งานของตนเองทั้งหมด ภายใต้การดูแลเชิงนโยบายของคณะทำงานด้าน KM ของเอสซีจี ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารระดับผู้ช่วย ผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน สมาชิกประกอบด้วย ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานด้าน KM ของแต่ละธุรกิจคณะทำงานชุดนี้มีหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆ ด้าน KM ของเอสซีจีและจัดกิจกรรมหลักที่ต้องการให้พนักงานเอสซีจีทุกคนมีส่วนร่วม หน่วยงานส่วนกลางก็มีการตั้งหน่วยงานด้าน KM เพื่อดำเนินงานจัดการความรู้ของหน่วยงานส่วนกลางเอง และเพื่อให้ความสนับสนุนแก่กลุ่มธุรกิจด้วยการดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยงานของแต่ละธุรกิจและหน่วยงานส่วนกลาง มีความแตกต่างกัน ในที่นี้ได้เลือกนำเสนอแนวทางการดำเนินการจัดการความรู้ของสำนักงานการบุคคลกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานส่วนกลางสำนักงานการบุคคลกลางได้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยการแต่งตั้งคณะทำงาน บริหารการเปลี่ยนแปลงดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ในการจัดการความรู้ ได้แก่ บ่งชี้ความรู้ที่สำคัญ แยกแยะเป็นความรู้ที่มีและที่ยังขาด สร้างหรือแสวงหาความรู้แล้วรวบรวม จัดเก็บอย่างเป็นระบบใน KM Database แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร รวมทั้งกิจกรรมโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัด การความรู้ ซึ่งจะกล่าวถึงบางประเด็นในรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

  • การแต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย

  1. หัวหน้าหน่วยงานในสำนักงานการบุคคลกลางทุกคน รวมกับพนักงานที่ได้รับ
  2. แต่งตั้ง โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานการบุคคลกลางเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ทำหน้าที่ด้านการกำหนเป้าหมายของการจัดการความรู้
  3. วางแผนงานระยะ 1 ปีและ 2-5 ปี แต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่บันทึกความรู้ ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลฐานข้อมูลความรู้ ประชุมเพื่อบ่งชี้ความรู้ที่สำคัญ ค้นหาว่าความรู้นั้นอยู่ที่ไหนหรืออยู่ที่ใครยังขาดความรู้อะไร และจะจัดการกับความรู้ทั้งที่มีอยู่และที่ยังขาดอยู่อย่างไร
  4. กำหนดมาตรฐานในการทำงานให้พนักงานทุกคนใช้ความรู้จากฐานข้อมูลความรู้และแบ่งปันความรู้ที่ได้จากการทำงานให้กับพนักงานอื่นๆ ด้วย บริหารการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงาน

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งความรู้

  1. การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายขององค์กร และเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลยุทธ์ขององค์กร
  2. วัฒนธรรมขององค์กรสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันความรู้ผู้บริหารเป็นตัวอย่างและให้การสนับสนุน
  3. การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ ไม่ใช่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น
  4. ระบบเทคโนโลยีเป็นระบบเดียวทั้งองค์กร ทำให้สะดวกในการสืบค้นข้อมูล
  5. มีระบบการให้รางวัลและการยกย่องในรูปแบบต่างๆ ที่กระตุ้นให้คนสนใจที่จะแบ่งปันความรู้

 🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษา : องค์กรแห่งความรู้ของ "บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)"

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร


           การเป็นผู้นำ Convergence lifestyle enabling ผ่านบริการทั้งหมดของกลุ่มซึ่งมีครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น Wire line หรือ Wireless ตั้งแต่โทรศัพท์พื้นฐาน, WE PCT บรอดแบนด์, อินเทอร์เน็ต และรวมไปถึงการให้บริการเคเบิ้ลทีวี บริการต่างๆเหล่านี้ เป็นช่องทางที่จะทำให้เราสามารถเติมเต็มชีวิตของลูกค้าทุกกลุ่มให้ครบถ้วน รวมถึงการให้บริการโซลูชันทางธุรกิจ ทั้งแก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้า SME


วิธีการดำเนินงานการจัดการความรู้ในองค์กร


       สังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบันสภาพทางสังคมของไทยได้เปลี่ยนไปมากมีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทำให้ผู้คนสบายขึ้นทั้งในเรื่องของการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน การศึกษา การติดต่อสื่อสาร เป็นต้นเมื่อมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้วัฒนธรรมการดำรงชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปทุกสิ่งที่ทำต้องอาศัยและพึ่งพาเทคโนโลยีต่างๆ ดังนั้นผู้ประกอบการที่ทำเกี่ยวกับสิ้นค้าทางเทคโนโลยีจึงพัฒนาและผลิตสินค้าต่างๆเพื่อการตอบสนองที่เพียงพอต่อความต้องการเหล่านั้น และสิ่งที่ใช้อำนวยความสะดวกต่างๆเป็นต้นว่า โทรศัพท์มือซึ่งต้องอาศัยระบบสัญญาณในการติดต่อซึ่งเปลี่ยนมาจากการที่ติดต่อด้วยจดหมาย หรือการเดนทางไปพบด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทที่ต้องใช้สัญญาณหรือระบบเชื่อมต่อเช่นกันซึ่งมาแทนที่การศึกษาหาความรู้จากตำราที่ต้องใช้เวลาในการค้นคว้า การสื่อสารอีเมลที่ส่งข้อมูลได้มากมายและรวดเร็วส่งแล้วได้รับทันทีการสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ทที่มีทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน เป็นต้น นันทนาการและบันเทิงที่ส่งถึงบ้านหรือระบบสัญญาณโทรทัศน์ยูบีซีที่แทนการชมภาพยนตร์หรือสารคดีจากโรงภาพยนตร์ที่ปกติต้องเช่าจากร้านเช่า เป็นต้น


ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งความรู้


       จากความสำเร็จของทรูมูฟเมื่อช่วงไตรมาส 3 ผู้บริหารกลุ่มทรูกล่าวย้ำว่า มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์คอนเวอร์เจนท์ ไลฟ์สไตล์ และการทำ โปรโมชันที่รวมบริการที่มีความโดดเด่นต่างๆ ในกลุ่มทรูเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นแนวทางการเติบโตอย่าต่อเนื่องของทรูมูฟในตลาดได้เป็นอย่างดีด้วยการคิดค้นรูปแบบแคมเปญการตลาดที่แปลกและแตกต่าง จึงทำให้มีการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี เช่น แคมเปญยูบีซีเอเอฟ 3 และการเปิดแคมเปญทรูไลฟ์พลัส มิติใหม่ของนวัตกรรมการบริหารด้วยยูบีซีทรูมูฟ ฟรีวิว

บทที่3 กระบวนการจัดการความรู้

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษาการจัดการความรู้ที่ประสบความสำเร็จ

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษา : การจัดการความรู้ของ “โรงพยาบาลศิริราช”



       โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับลิยานและเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งขน เปิดดำเนินการในที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 ปัจจุบันโรงพยาบาลมีอายมากกว่า 116 ปี การดำเนินกิจการของโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มแรกยึดแนวทางสืบสานพระราชปณิธานของพระผู้ทรงก่อตั้งคือ ให้การบำบัด รักษา ดูแล และส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนทุกระดับ ทั้งผู้ยากไร้อนาถาและร่ำรวยมั่งมีโดยไม่แบ่งชนวรรณะและในสมัยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย" ได้ทรงอาสาพระองค์ด้ายพระวิริยะ อุตสาหะ และพระราชทานทนทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการพัฒนาปรับปรง โรงพยาบาลศิริราช ทรงวางรากฐานทางด้านการศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข และการสังคมสังคมเคราะห์ จนได้รับศรัทธาและความนิยามจากประชาชนทุกระดับ เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้บริการที่เคยระดับยึดประโยชน์สุขของประชาชน "คณะแพทยศาสตร์ศรราชพยาบาลจะเป็นสถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศในอาเซียอาคเนย์" และมีพันธกิจ "คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีพันธกิจที่จะจัดการการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิต ทำการวิจัย สร้างบรรยากาศทางวิชาการและให้บริการทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพ ทันสมัยได้มาตรฐานสากล สอดคล้องกับความตองการประเทศและนำมาซึ่งศรัทธา และความนิยมสูงสุดจากประชาชนรวมทั้งชี้นำสังคมไทยในด้านสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต
       
       การดำเนินการของโรงพยาบาลศิริราชเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพให้เป็นโรงพยาบาลคันภาพได้มาตรฐานทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ และเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 โรงพยาบาลศิริราชได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับชาติ จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ภายหลังได้รับการับรองคุณภาพแล้ว โรงพยาบาลยังคงดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและได้รับการรับอง Re-accreditation อีกครั้งในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547

  • การจัดการความรู้ในองค์กร
         เหตุผลสำคัญที่โรงพยาบาลศิริราช เข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้ตามค่าเชิญของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ คือ ต้องการเรียนรู้วิธีการจัดการความรู เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กรให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์กรของคระแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถใช้ความรูในองค์กรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ นอกจากนการเข้าร่วมโครงการเป็นโอกาสที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กรอื่นในการสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ในองค์กรที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย เพื่อการขยายผลต่อไป

  • วิธีการดำเนินการ
         โรงพยาบาลศิริราช เริมดำเนินโครงการการจัดการความรู้ด้วยการจัดประชมเชิงปฏิบัติการ 1 วันให้กับผู้บริหารระดับสง และทีมงาน โดยมี Mr. Robert Osterhoff  ซึ่งเป็นที่รักษาโครงการมาเป็นวิทยากรการดำเนินโครงการใช้ Model "Knowledge Management Cycle of Implementation" ซึ่งเป็น Model ที่ประยุกต์มาจากของ บริษัท Xerox Corporation เป็น Model ในระหว่างการประชมมีการประเมินและวิเคราะห์องค์กร โดยผู้บริหารมีมติว่าจะจัดการความรู้เรื่อง "CQI" (Continuous Quality Improvement) ทางคลินิก

         หลักจากการประชมเชิงปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีคำสั่ง แต่งตงคณะทางานการจัดการความรู้ จากนนคณะทำงานได้ประเมินและวิเคราะห์องค์กรอย่างละเอียด พบว่าโรงพยาบาลศิริราชมีการดำเนินการด้าน “CQ” ทางคลินิกมาพอสมควร ซึ่งกระบวนการ CQI เป็นวิธีการพัฒนาและปรับปรุงการบริการทำให้เกิดการดูแลรักษาที่ดีและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

         นอกจากนยังช่วยส่งเสริมให้วิสัยทัศน์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่เป็นองค์กรทางการแพทย์ชนเลิศในเอเชียอาคเนย์และพันธกิจที่จะให้บริการทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพ ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ให้สามารถบรรลุผลได้ เป้าหมายในการดำเนินโครงการจัดการความรู้ คือ"ระบบเครือข่ายของการถ่ายโอนความรู้ (ด้านCQI ทางคลินิก) เพื่อให้มี Best Practices ในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิริราช"

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษา : การจัดการความรู้ของ บริษัทสแปนชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด”



       บริษัท สแปนชั่น (ไทยแลนด์) จํากัด ชื่อเดิมคือ บริษัท เอเอ็มดี (ไทยแลนด์) จํากัด เกิดจากการรวบรวมสายงานผลิต9 หน่วยความจํา (Memory Devices) ของบริษัท เอเอ็มดี และบริษัท ฟูจิตสึ บริษัทนับว่าเป็นโรงงานผู้ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า IC ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดในจํานวน  4 แห่งของ Spansion ในทวีปเอเชีย โรงงานประกอบด้วยสายการผลิตประกอบและทดสอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติรวมทั้งการควบคุมการผลิตด้วยกลวิธีทางสถิติในส่วนของบุคลากร Spansion มีพนักงานประมาณ 1,400 คน ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยหน่วยความจำ ประเภท Nor Flash ทีมีประสิทธิภาพสูงซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ มือถือ(PDA), ระบบ GPS, หน่วยความจำ (Media memory) เป็นต้น กลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ชั้นนำต่างๆ

       ปรัชญาการบริหารงานของ Spansion มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับพนักงานภายใต้แนวคิดนการบริหารจัดการที่ว่า บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กร” (People are our most important asset.)ดังนั้นการมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดีไปพร้อมกันความสำเร็จในการบริหารจัดการของ Spansion มาจากการผสมผสานระหว่างรูปแบบการทำงานตามสายบังคับบัญชาปกติ และรูปแบบของกลุ่ม หรือคณะทำงานเพื่อให้ มั่นใจว่าผลที่เกิดจากการมีส่วนร่วมกันของพนักงานทุกคน เรียกว่า ระบบการปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนา

 ทำไมต้องจัดการความรู้ในองค์กรนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง (Total Continous Process Improvement and Innovation หรือ TCPI2 ) อันเป็นหัวใจหลักของการพัฒนากระบวนการทำงานในแง่ของการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและศักยภาพของพนักงานบริษัทเชื่อว่า ความรู้คือพลัง” (Knowledge is Power) ดังนั้นจึงมีการจัดตั้ง Spansion University โดยวางแผนและจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นไว้ที่ อาคารศูนย์พัฒนาบุคลากร (Employee Development Center หรือ EDC) และมีคณะกรรมการการศึกษา Total Continous Education (TCE) ซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำนโยบาย แผนงานหลักและการกำหนดกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพนักงานในภาวะปัจจุบัน การที่พนักงานของบริษัทสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าคู่แข่งถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจและจากค่านิยม (Values) ของ Spansion ที่เกี่ยวกับความรู้ บริษัทจึงมุ่งเน้นและส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พนักงานควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น เพื่อให้การทำงานดีขึ้น เป็นการสร้างคุณค่าที่สำคัญอย่างหนึ่ง และบริษัทก็ได้มอบรางวัล หรือการแสดงความชมเชยจากผลของการทำเช่นนั้นด้วย

       การจัดการความรู้ใน Spansion จะมุ่งเน้นที่การจัดการกับความรู้ที่เป็นความรู้หลักที่สำคัญขององค์กรโดยมากจะเป็นความรู้ในเชิงวิศวกรรมและเทคนิคเฉพาะด้าน โดยวางเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาการจัดการความรู้และแบ่งปันความรู้ ที่เป็นระบบในตลาดการผลิตอุปกรณีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทตระหนักดีว่าธุรกิจจะมีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา ศักยภาพด้านเทคนิคจึงเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ

  • กิจกรรมที่เลือกเข้ามาไว้ในโครงการนำร่องของการจัดการความรู้มีดังนี้
  1.  โครงการเพื่อพัฒนาผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง (TCPI2 projects)
  2.  การนำเสนองานและโครงการด้านวิศวกรรม (Engineering project presentation)
  3.  การนำเสนองานในฝ่ายสนับสนุน (Department presentation)
  4.  เอกสารประกอบการฝึกอบรม (Training materials)
  5.  สิทธิบัตร (Patents)
  6.  สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ (Publication)
  7.  ความรู้จากบริษัทคู่ค้า (Knowledge from Vendors)

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼

กรณีศึกษา : การจัดการความรู้ของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)”



วิสัยทัศน์ (Vision)

  การเป็นผู้ให้บริการด้านการสื่อสารครบวงจรและมุ่งตอบสนองต่อลูกค้าเป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นผู้ให้บริการหนึ่งเดียวของประเทศที่ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน ระบบสื่อสารไร้สาย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และผลิตภัณฑ์และบริการด้านเนื้อหาต่างๆอย่างหลากหลาย

พันธะกิจ (Mission)
       
        แนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งประกอบด้วย

เชื่อถือได้
  1. เราซื่อตรงและให้เกียรติทุกคนและร่วมกันทำงานเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
  2. เราสื่อสารอย่างซื่อตรงและเน้นถึงประโยชน์ของบริษัทเป็นสำคัญ
  3. เราพยายามทำในสิ่งที่เหมาะที่ควรเพื่อลูกค้าของเรา
  4. เราพร้อมจะตัดสินใจและรับผิดชอบในการกระทำของเรา
  5. สร้างสรรค์
  6. เราพยายามเสาะหาแนวคิดใหม่ๆ และวิธีการใหม่ๆ ซึ่งจะนำมาซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ
  7. เราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานร่วมกัน
  8. เราทำงานด้วยความท้าทายซึ่งทำให้ธุรกิจของเราพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าเหนือผู้อื่น

เอาใจใส่
  1. เราเชื่อมั่นว่าพนักงานของเราคือสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งของบริษัท
  2. เราตั้งใจจะทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคีและมอบสิ่งที่ถูกที่ควรให้กับลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และคู่ค้าของเรา
  3. เราปฏิบัติต่อผู้อื่นในลักษณะเดียวกับที่เราอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา
  4. เรายอมรับผลงานและยินดีในความสำเร็จของกันและกัน
  5. เราสร้างสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับคู่ค้าของเรา
  6. กล้าคิดกล้าทำ
  7. เรามีความปรารถนาที่แน่วแน่เพื่อพัฒนาบริษัทของเราและเป็นผู้นำในตลาดการค้า
  8. เราปฏิบัติงานด้วยความเด็ดเดี่ยว ประเมินความเสี่ยงอย่างสุขุมและเรียนรู้จากข้อผิดพลาด
  9. เราตระหนักดีว่าโอกาสเกิดจากความรับผิดชอบและความรู้สึกเป็นเจ้าของในงานนั้นๆ

เป้าหมาย (Goal) 

        การเป็นผู้นำ Convergence lifestyle enabling ผ่านบริการทั้งหมดของกลุ่มซึ่งมีครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น Wire line หรือ Wireless ตั้งแต่โทรศัพท์พื้นฐาน, WE PCT บรอดแบนด์, อินเทอร์เน็ต และรวมไปถึงการให้บริการเคเบิ้ลทีวี บริการต่างๆเหล่านี้ เป็นช่องทางที่จะทำให้เราสามารถเติมเต็มชีวิตของลูกค้าทุกกลุ่มให้ครบถ้วน รวมถึงการให้บริการโซลูชันทางธุรกิจ ทั้งแก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้า SME

🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼