วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับความรู้


ความหมายของความรู้(Knowledge)


อิคูจิโร โนนากะ (Ikujiro Nonaka)


อิคูจิโร โนนากะ มนุษย์คือผู้สร้างความรู้ KM คือวิถีการดำเนินชีวิตของคนKMB ถือเป็นวิธีคิดในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นกระบวนทัศน์ (paradigm) ใหม่ ซึ่งแตกต่างจากการจัดการอย่างอื่น เช่น รีเอ็นจิเนียริ่งซึ่งนิยมกันเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เพราะเป็นเพียงภาคปฏิบัติ ไม่ได้มีแนวคิดหรือทฤษฎีรองรับ แต่ KMB ทำให้เกิดความรู้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของความรู้ที่มีทฤษฎีรองรับ โดยความรู้นั้นมี 2 ประเภท คือ tacit และ explicit tacit knowledge เป็นเรื่องการเรียนรู้โดยส่วนตัว เมื่อทำงานก็เกิดเรียนรู้ และความรู้นั้นมีคุณค่าต่อตัวเขา ส่วน explicit knowledge เป็นความรู้ที่มีการจัดระบบ ฉะนั้นอาจจะต้องเอาอุปกรณ์มาช่วย เช่น ไอที จะมีความเป็นรูปธรรม


ไฮดีโอ ยามาซากิ (Hideo Yamazaki)

      ไฮดีโอ ยามาซากิ นักวิชาการการจัดการความรู้ชาวญี่ปุ่น (บูรชัย ศิริมหาสาคร, 2550 : 22-24) ได้อธิบายนิยามของความรู้ด้วยรูปแบบของปิรามิด ซึ่งแสดง ให้เห็นว่าความรู้มี 4 ประเภทและมีพัฒนาการตามลำดับเป็น 4 ขั้น จากต่ำไปสูง คือ ข้อมูล-->สารสนเทศ-->ความรู้-->ภูมิปัญญา ซึ่งแต่ละระดับ มีความหมายแตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง เป็นฐานของกันและกัน ดังนี้
  • ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้จากการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น โดยยังไม่ผ่านกระบวนการ การวิเคราะห์ (ด้วยกลวิธีทางสถิติ) จึงเป็นข้อมูลดิบ
  • สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์แล้ว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  • ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้
  • ภูมิปัญญา (Wisdom) คือ การประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการทำงาน บางท่านจึงเรียกภูมิปัญญาว่า ปัญญาปฏิบัติ
ภาพที่ 1.1 ทฤษฎีปิรามิดความรู้ของยามาซากิ


Davenport and Prusak 

        Davenport and Prusak (1998) กล่าวว่า ความรู้หมายถึง ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ ที่เป็นสภาพแวดล้อมและกรอบการทํางาน สําหรับการประเมินและรวมกันของประสบการณ์และสารสนเทศใหม่

Peter Senge
         Peter Senge ( 1990 ) แห่ง Massachusetts Institute of Technology กล่าวว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ สถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างผลงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ ๆ หลากหลายมากมาย ที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน

Peter Drucker 

       Peter Drucker (1909-2005) เป็นนักคิดที่บุกเบิกแนวคิดด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่แต่ดรักเกอร์มีแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการองค์กรที่แตกต่างอย่างมากจากนักคิดด้านการบริหารรุ่นใหม่ๆที่การนำเสนอแนวคิดการบริหารธุรกิจจะมีหลักวิชาการรองรับและมีวิธีคิดที่เป็นระบบแบบแผนแต่แนวคิดที่เป็นจุดเด่นของดรักเกอร์คือความพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนต่างๆของสังคม และพยายามถอดสรุปสิ่งที่เข้าใจออกมาเป็นแนวคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ด้านการปฏิบัติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี

         นักคิดคนสำคัญของประเทศไทย ได้เสนอ ยุทธศาสตร์ทางปัญญาแห่งชาติ 8 ประการ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของสังคมไทยทั้งหมดรวมกัน เพื่อพัฒนาประเทศให้ไปสู่ความเจริญที่แท้จริงและยั่งยืน และยุทธศาสตร์หนึ่งในแปดที่เสนอ คือ ยุทธศาสตร์ญาณวิทยา หรือยุทธศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้ความจริง และปัญหา ประเวศ วะสี
(2537: 10 – 17) ได้เสนอแนวคิดว่า ความรู้ที่จำเป็นมี 4 ประเภทใหญ่ ๆ เรียกว่า ปัญญา 4 หรือ
จตุรปัญญา คือ
  1. ความรู้ธรรมชาติที่เป็นวัตถุ (วิทยาศาสตร์กายภาพ)
  2. ความรู้ทางสังคม (วิทยาศาสตร์สังคม)
  3. ความรู้ทางศาสนา (วิทยาศาสตร์ข้างใน)
  4. ความรู้เรื่องการจัดการ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช 

      แห่งสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า องค์การเอื้อการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamics) มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของพัฒนาการด้าน ๆ คล้ายมีชีวิต มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) รวมทั้งมีบุคลิกขององค์การในลักษณะที่เรียกว่าวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) ที่ผู้เกี่ยว ข้องสัมพันธ์สามารถรู้สึกได้

ประพนธ์ ผาสุขยืด

        ในปี่(2547)ได้เสนอกรอบความคิดการจัดการความรู้ แบบปลาทู (Tuna Model) เป็นกรอบความคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.)โดยเปรียบการจัดการความรู้เสมือนปลาหนึ่งตัว ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ลำตัว และหางปลา


ภาพที่ 1.2 โมเดลแบบปลาทู


โมเดลปลาประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง

  1. ส่วนหัวปลา เรียกว่า KV ย่อมาจาก Knowledge Vision หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้ กล่าวคือ ส่วนหัวจะทำหน้าที่มองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร"
  2. ส่วนตัวปลา เรียกว่า KS ย่อมาจาก Knowledge Sharing หมายถึงส่วนที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ และเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM เพราะต้องเกิดจากปัจจัย และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้คนพร้อมที่จะแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกัน
  3. ส่วนหางปลา เรียกว่า KA ย่อมาจาก Knoeledge Assets หมายถึงส่วนที่เป็นเนื้อหาความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้"